IT INFRASTRUCTURE
1. การกำหนดโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
ประกอบไปด้วยชุดอุปกรณ์ที่จับต้องได้และแอพพลิเคชันซอร์ฟแวร์ที่จำเป็นในการดำเนินงานภายในองค์กร รวมทั้งมนุษย์และความสามารถทางด้านเทคนิค
2. วิวัฒนาการของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
ขั้นตอนวิวัฒนาการของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
1. Mainframe/Minicomputer (1959-ปัจจุบัน)
2. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( 1981- ปัจจุบัน)
3. Server ลูกค้า (1983-ปัจจุบัน)
4. คอมพิวเตอร์ขององค์กร (1992-ปัจจุบัน) มีการนำ Server และ internet
ขององค์กรเข้ามาใช้
5. Cloud และ Mobile (2000-ปัจจุบัน)
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการขับเคลื่อนวิวัฒนาการโครงสร้างพื้นฐาน
3.1) กฎของมัวร์และกำลังประมวลผลของไมโครโพรเซสเซอร์ (Moore’s Law and Microprocessing Power )
กอร์ดอน มัวร์ (Gordon E. Moore) เขาได้อธิบายกฎนี้ไว้ในรายงานของเขาเมื่อปี 1965 รายงานนั้นได้ระบุไว้ว่า จำนวนของส่วนประกอบในวงจรรวมจะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 1958 ไปจนถึง 1965 และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีก "อย่างน้อยสิบปี" การทำนายของเขายังเป็นไปตามที่คาดไว้อย่างน่าประหลาดใจ อย่างน้อยกฎนี้ปัจจุบันยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำที่ได้ถูกใช้เป็นแนวทางของการวิจัย และพัฒนา
3.3) ราคาต้นทุนการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตลดลง ( Declining Communications Costs and the Internet )
3.4) มาตรฐานและผลกระทบทางเครือข่าย (Standards and Network Effects )
CONTEMPORARY SOFTWARE PLATFORM TRENDS
กอร์ดอน มัวร์ (Gordon E. Moore) เขาได้อธิบายกฎนี้ไว้ในรายงานของเขาเมื่อปี 1965 รายงานนั้นได้ระบุไว้ว่า จำนวนของส่วนประกอบในวงจรรวมจะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 1958 ไปจนถึง 1965 และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีก "อย่างน้อยสิบปี" การทำนายของเขายังเป็นไปตามที่คาดไว้อย่างน่าประหลาดใจ อย่างน้อยกฎนี้ปัจจุบันยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำที่ได้ถูกใช้เป็นแนวทางของการวิจัย และพัฒนา
3.2) กฎของเมตคาล์ฟ และเศรษฐศาสตร์เครือข่าย (Metcalfe’s Law and Network Economics )
" คุณค่าทางเศรษฐกิจของเครือข่าย = (จำนวนผู้ใช้)ยกกำลัง2 "
เช่น ถ้ามีโทรศัพท์ เพียงเครื่องหนึ่ง มันจะไม่มีคุณค่าใดๆเลย ในทางเศรษฐกิจ แต่ทันทีที่มีโทรศัพท์ 2 เครื่องคุณค่าทางเศรษฐกิจของเครือข่ายโทรศัพท์ก็จะเพิ่มเป็นทวีคูณ จาก 0 เป็น 4 และถ้าจำนวนเพิ่มเป็น 3 เครื่อง ค่าของมันก็จะเพิ่มเป็น 9 พูดอีกนัยหนึ่งก็คือคุณค่าทางเครือข่ายจะเพิ่มเป็นแบบกราฟเอ๊กซ์โพเนนเซียล ไม่ใช่โตไปตามสัดส่วนเลขคณิต
3.4) มาตรฐานและผลกระทบทางเครือข่าย (Standards and Network Effects )
INFRASTRUCTURE COMPONENTS
1. Computer Hardware Platforms
2. Operating System Platforms
3. แอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ขององค์กร (Enterprise Software Applications) : ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นระดับองค์กรที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ SAP และ Oracle
4. การจัดการและจัดเก็บข้อมูล (Data Management and Storage ) : ซอฟต์แวร์การจัดการฐานข้อมูลองค์กรมีหน้าที่ในการจัดระเบียบและจัดการข้อมูลของ บริษัท เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลชั้นนำผู้ให้บริการ ได้แก่ IBM (DB2), Oracle, Microsoft (SQL Server) และ Sybase (Adaptive Server Enterprise)
5. Networking/Telecommunications Platforms
6. Internet Platforms
7. บริการให้คำปรึกษาและระบบบูรณาการ (Consulting and System information services)
CONTEMPORARY HARDWARE PLATFORM TRENDS
GRID COMPUTING : เป็นเทคโนโลยี ที่ได้ผ่านการวิจัยและพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ระบบทำการคำนวณหรือประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน ด้วยสมรรถนะสูง โดยจัดเอาทรัพยากรประมวลผลด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆมาทำการต่อเชื่อมโยงให้ถึงกัน ให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงระบบเดียว
การประยุกต์ใช้ GRID COMPUTING
1.ทางด้านนาโนเทคโนโลยี : สามารถช่วยในการผลิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋วระดับนาโนได้ เช่น Microbot และ Nanodevices เป็นต้น
2.ทางด้านสภาวะอากาศ : การคำนวณทางด้านสภาวะอากาศ ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการประมวลผล ตัวอย่างเช่น การแสดงผลของอุณหภูมิของอุณหภูมิอากาศจากฐานข้อมูลออนไลน์ขนาดใหญ่ และมีการแสดงข้อมูลเป็นปัจจุบัน สามารถต่อต้านภูมิอากาศ และช่วยในการพยากรณ์ของการต่อตัวของพายุที่จะนำไปสู่การเกิดน้ำท่วมได้อย่างแม่นยำ
3.ทางด้านภูมิประเทศ : การจำลองสภาพสามมิติของภูมิประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการจัดการทรัพยากรของประเทศ การพัฒนาที่ดิน ตลอดจนการวางแผนยุทธศาสตร์ทางทหาร
4. ทางด้านฐานข้อมูล : บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Oracle ด้านฐานข้อมูล ได้เล็งเห็นความเห็นว่า Grid Computing จะมีอิทธิพลอย่างมากสำหรับองค์กรขนาดใหญ่และบริษัท Outsourcing ในการขยายขีดความสามารถของระบบ
CLOUD COMPUTING
Cloud Computing คือ บริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆจากผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง
ประเภทของบริการ Cloud Computing
1. Software as a Service (SaaS) : เป็นวิธีหนึ่งที่ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้งานซอฟแวร์ (Software) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต (Internet) โดยไม่ต้องทำการลงซอฟแวร์ (Install) และดูแลรักษา
2. Platform as a Service (PaaS) : เป็นการเช่าฮาร์ดแวร์, operating systems, storage และ network capacity บน Internet ซึ่งเป็นรูปแบบการให้บริการโดยให้ลูกค้าเช่าเซิฟเวอร์เสมือน (virtualize servers)
3. Infrastructure as a Service (IaaS) : เป็นรูปแบบที่องค์กรใช้อุปกรณ์จาก outsource ที่คอยซัพพอร์ตการดำเนินการ รวมทั้ง Storage, Hardware, Servers และเครือข่าย ผู้ให้บริการจะเป็นเจ้าของอุปกรณ์และรับผิดชอบการทำงาน การบำรุงรักษา โดยผู้ใช้บริการก็เลือกจ่ายตามการใช้งานจริง
CONTEMPORARY SOFTWARE PLATFORM TRENDS
LINUX AND OPEN SOURCE SOFTWARE
Software Open Source คือ ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่มีไลเซนส์แบบโอเพนซอร์ส ซึ่งมีลักษณะต่างจากไลเซนส์ของซอฟต์แวร์ทั่วไป คือผู้พัฒนาเจ้าของซอฟต์แวร์จะอนุญาตให้ผู้ใช้ติดตั้งและใช้งานได้อย่างไม่จำกัดทั้งจำนวน
Linux : Linux kernel หรือ operating system kernel ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่าง hardware และ application เพื่อบริหารจัดการ resource ที่มีอยู่ให้เหมาะสม
ส่วนประกอบของ LINUX OPERATION SYSTEM
1. The Bootloader : เป็น software ที่ทำหน้าที่จัดการเรื่องการ boot ของ computer สำหรับ user มันก็คือหน้าจอที่แสดงขึ้นมาช่วงที่กำลังเริ่มเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ
2. The kernel : ระบบส่วนกลางที่ทำหน้าจัดการทรัพยากรต่างๆเช่น CPU, memory และ อุปกรณ์ต่อเสริมต่าง เป็น layer ต่ำสุดที่อยู่ใกล้กับ OS
3. Daemons : เป็นส่วนที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง (background service) เริ่มทำงานตั้งแต่ระหว่างที่ boot และ เริ่ม login เข้าสู่ระบบ
4. The Shell : การทำงานของคำสั่งที่ทำให้คุณสามารถควบคุมและสั่งการผ่าน command line
5. Graphical Server : เป็นระบบที่ช่วยเสริมการแสดงผลบนจอ monitor
6. Desktop Environment : คือส่วนที่ user ใช้งานจริง ซึ่งมีให้เลือกได้หลายที่โดยซึ่งก็คือชุดของ application ต่างๆที่ถูกจำมารวมกัน เช่น managers, configuration tools, web browsers, games
7. Applications : Linux ที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่มักจะมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับค้นหาและติดตั้ง application ติดมาให้ เช่น Ubuntu Linux ก็จะมี software center คือ apt ที่ใช้ในการ download และ ติดตั้ง application จากศูนย์กลาง
SOFTWARE FOR THE WEB: JAVA AND AJAX
Java : เป็นโปรแกรมภาษาที่ถูกพัฒนามาเพื่อรองรับการออกแบบซอฟต์แวร์ที่มีการเชื่อมโยง Internet อีกทั้งยังเป็นโปรแกรมที่สนับสนุนแนวความคิดของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือที่รู้จักกันดีที่เรียกว่า OOP
AJAX : ย่อมาจาก Asynchronous JavaScript and XML เป็นการนำเทคโนโลยีต่างๆมาทำงานร่วมกัน เพื่อทำให้การใช้งานเว็ปเพจประหยัดและสะดวกขึ้น
องค์ประกอบของ AJAX
-JavaScript
-Cascading Style Sheet(CSS)
-Document Object Model(DOM)
-XMLHttpRequest Object(XHR Object)
WEB SERVICES AND SERVICE-ORIENTED ARCHITECTURE
Web Services คือ ระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย โดยที่ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ XML เว็บเซอร์วิสมีอินเทอร์เฟส ที่ใช้อธิบายรูปแบบข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ ลักษณะการให้บริการของ Web Services นั้น จะถูกเรียกใช้งานจาก application อื่นๆ ในรูปแบบ RPC (Remote Procedure Call)
SERVICE-ORIENTED ARCHITECTURE (SOA)
SOA คือ ชุดของซอฟต์แวร์หนึ่งๆ ที่ถูกออกแบบให้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นต่อการใช้งานโดยจะปฏิบัติหน้าที่อยู่ระหว่างเฟส ของการพัฒนาระบบ (systems development) กับ การควบรวมการประมวลผล (integration in computing)
แบบจำลองกำลังการแข่งขันสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT
1. ความต้องการของตลาดสำหรับบริการของบริษัท
2. กลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท
3. ยุทธศาสตร์ด้านITโครงสร้างพื้นฐานและค่าใช้จ่ายของบริษัท
4. การประเมินเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. การบริการของบริษัทคู่แข่ง
6. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของบริษัทคู่แข่ง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น